วันเสาร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

ลิ้นพาจน



ลิ้นพาจน


คนเราจะไปมีปัญหากับคนที่คิดต่างกับเราทำไม

การที่คิดต่าง ก็เป็นเพราะมุมมองที่แตกต่าง ความเข้าใจที่แตกต่าง ความรู้ที่ไม่เท่ากัน

แต่เมื่อมีความคิดที่แตกต่างแล้ว

จะทำอย่างไร


หาข้อมูลทางวิชาการมารับรองความคิดของเรา
หาถูกหาผิด
หาเพื่อ..


เพื่อจะได้เห็นว่าเราเป็นฝ่ายถูก อีกฝ่ายนั้น ผิด...ๆ..ๆ
ใช่ไหม

หรือจะหาความจริงว่า สิ่งใดสมควรทำต่อไป สิ่งใดไม่สมควร


งั้นลองถามเล่นๆ ว่า

1+1 = 2 เสมอไหม ?
ถ้ามีคนตอบว่า เป็นเสมอ
อีกคนตอบว่าไม่เป็นล่ะ

จะทำอย่างไร

คนที่บอกว่าเป็นก็บอกว่า ได้เรียน ได้ยิน ได้ฟังมาอย่างนี้ ต้องเป็นอย่างนี้





อีกคนบอกว่า เอาทราย บวกกะทราย มันจะเป็นสองกองไหม

เอาเมฆหนึ่งก้อน บวกกะเมฆอีกหนึ่งก้อน มันจะเป็นสองก้อนไหม

อืมม มันก็มีปริมาณเพิ่มนะ แต่มันก็ไม่ได้เป็นสองกอง สองก้อน นะ

มันอยู่ที่บริบท และจุดที่จะจับมาเรียก



เราจะหาความจริงในเรื่องต่างๆได้ ก็ต้องมีทฤษฎี บทพิสูจน์จากผู้รู้ ที่เรามั่นใจว่า ท่านนั้นมีความรู้จริงในเรื่องนั้นๆ

แต่ถ้าเป็นเรื่องของความรู้ที่เหนือโลกนี้ล่ะ เรื่องของบุญ เรื่องของการเวียนตายเวียนเกิด ล่ะ

ถ้าหาไม่ถูกที่ ก็วนเวียนอยู่ในความไม่รู้ต่อไปใช้คาดเดา ตรรกะ มั่วๆ เอา ได้ไหม...
ไม่ได้

เรื่องในโลกนี้ก็เหมือนกันทั้งนั้น



วันก่อนมีคนแชร์เรื่อง เห็นพระไม่กี่รูป ฉัน ภัตตาหาร วางเต็มพื้นที่อาสน์สงฆ์ เรื่องราวทั้งหมดคือ เห็นแค่ภาพเดียว...





แค่ภาพเดียว...

ก็เริ่มมีการวิพากษ์ แล้วก็ วิจารณ์ กันไปเรื่อยๆ

เดี๋ยวนะ ก่อนจะพูดต่อเรื่องนี้ มีเรื่องเล่าจากอดีตมาฝากก่อน


เคยได้ยินทานชนิดหนึ่งไหม ที่ชื่อว่า "อสทิสทาน" ทานที่ยิ่งกว่าทานใดๆ มีครั้งเดียว ต่อพระพุทธเจ้าหนึ่งพระองค์

ความยิ่งใหญ่ ในมหาทาน เกิดขึ้นในสมัยพุทธกาล พระเจ้าปเสนทิโกศล ทำทานที่ประณีต ยิ่งใหญ่ แล้วก็อยากให้ประชาชนมองดูทานของท่าน จะได้ชื่นชม อนุโมทนา ท่านก็จะได้ปลื้มเพิ่มขึ้น แน่นอนว่าท่านรู้เรื่องการสั่งสมบุญเป็นอย่างดี




ประชาชนเห็นแล้วก็ คิดกันว่า จะทำทานให้ยิ่งๆ กว่าของพระราชา ก็รวมกันช่วยกันทั้งเมือง ทานยิ่งประณีตกว่า ยิ่งใหญ่กว่า มากมายกว่า

พระราชาเห็นวัตถุทานของประชาชนแล้ว ก็กลับไปนั่งถอนใจ ว่าทำอย่างไรจะทำให้ยิ่งๆ กว่าของประชาชน

พระนางมัลลิกา จึงอาสาทำมหาทานนี้ เอาช้างมาถือฉัตร เอาเจ้าหญิงมาถวายภัตต์ เรื่อง ข้าวปลาอาหารไม่ต้องพูดถึง เกินความยิ่งใหญ่ไปเยอะ

แม้ถึงขนาดนี้ คนทั้งเมืองมุ่งทำทาน เพื่อเอาบุญใหญ่กัน อย่างสนุกสนานร่าเริงมีอำมาตย์ท่านหนึ่งชื่อว่า ชุณหะ ได้อนุโมทนา แล้วคิดว่า "มหาทานของพระราชาคราวนี้ ช่างยิ่งใหญ่นัก หากไม่ใช่พระราชาย่อมไม่มีทางกระทำได้ มหาทานยิ่งใหญ่ ขนาดนี้ มีหรือ พระองค์จะไม่อุทิศส่วนบุญแก่ใครๆ เราขออนุโมทนาบุญในบุญใหญ่ครั้งนี้"

แต่ก็มีอำมาตย์อีกท่านหนึ่งชื่อกาฬะ คิดในใจว่าพระราชาทำแล้วเสียเปล่า ทำแล้วไม่เกิดประโยชน์ พระราชาถึงความเสื่อมแล้ว ทำให้เสียทรัพย์เปล่าๆ ไปถึง 14 โกฏิ


ความคิดนี้เข้าไปในข่ายพระญาณของพระพุทธเจ้า ถ้าหากพระองค์ทำการอนุโมทนาให้ยิ่งใหญ่ เหมาะสมกับอสทิสทานแล้ว


กาฬอำมาตย์ผู้นี้คงเกิดความโกรธอย่างยิ่ง กระทั่งศีรษะแตกเป็นเจ็ดเสี่ยง มุ่งตรงลงสู่นรกไปเลยทีเดียว ทรงอนุเคราะห์ จึงอนุโมทนาเล็กน้อย แล้วหลีกไป


พระราชาสงสัยว่าเกิดอะไรทำไมจึงเป็นเช่นนี้ จึงไปตรัสถามพระพุทธเจ้าภายหลัง เมื่อทราบจึงมาถามอำมาตย์ทั้งสอง


อำมาตย์ทั้งสองรับว่าจริง พระองค์ทรงแบ่งส่วนบุญให้ชุณหอำมาตย์และให้ขึ้นครองราชแทนพระองค์ 7 วัน อนุญาตให้ทำทานได้เต็มที่ ส่วนของกาฬอำมาตย์นั้น


ขอยกข้อความในพระไตรปิฎกมาสักหน่อยละกัน


“พระราชาตรัสถามว่า "กาฬอำมาตย์ ได้ยินว่า ท่านคิดอย่างนี้จริงหรือ?"

เมื่อเขาทูลว่า "จริง" จึงตรัสว่า "เมื่อเราพร้อมกับบุตรภรรยาของเรา มิได้ถือเอาของมีอยู่ของท่าน ให้ของมีอยู่ของตน เบียดเบียนอะไรท่าน?

สิ่งใดที่เราให้แก่ท่านแล้ว สิ่งนั้นจงเป็นอันให้เลยทีเดียว แต่ท่านจงออกไปจากแว่นแคว้นของเรา"

ดังนี้แล้ว จึงทรงเนรเทศกาฬอำมาตย์นั้นออกจากแว่นแคว้น”


พระราชาบอกว่า ของก็ไม่ใช่ของท่าน มันไปหนักอะไรท่าน ?​ นี่แปลเป็นไทย

ในที่สุดพระศาสดาตรัสว่า "อย่างนั้น มหาบพิตร ขึ้นชื่อว่าพวกคนพาล ไม่ยินดีทานของผู้อื่น เป็นผู้มีทุคติเป็นที่ไป ณ เบื้องหน้า ส่วนพวกนักปราชญ์อนุโมทนาทานแม้ของชนเหล่าอื่น จึงเป็นผู้มีสวรรค์เป็นที่ไป ณ เบื้องหน้าโดยแท้"ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-

น เว กทริยา เทวโลกํ วชนฺติ
พาลา หเว นปฺปสํสนฺติ ทานํ
ธีโร จ ทานํ อนุโมทมาโน 
เตเนว โส โหติ สุขี ปรตฺก. 

พวกคนตระหนี่จะไปสู่เทวโลกไม่ได้เลย, พวกคนพาลแลย่อม 
ไม่สรรเสริญทาน, ส่วนนักปราชญ์อนุโมทนาทานอยู่ 
เพราะเหตุนั้นนั่นเอง นักปราชญ์นั้น จึงเป็นผู้มีสุขในโลกหน้า. 




กลับมาเรื่องปัจจุบันบ้าง


คนที่ไม่รู้เรื่องของบุญกุศล ไม่มีความศรัทธา ไม่เคยศึกษา
เมื่อมีเหตุการณ์ที่ยกมาว่า การถวายภัตตาหารพระมากมาย อย่างที่เห็นในภาพเพียงภาพเดียวนั้น ก็ออกมาพูดกันไป

มากอย่างไงก็ไม่ได้เศษเสี้ยวในล้านส่วนของอสทิสทาน พูดไปทำไมมี




เรื่องนี้ก็อยากเตือนท่านทั้งหลายว่า เห็นใครทำความดีให้อนุโมทนา เค้าไม่ได้เอาของๆเราไปทำ เราไม่มีส่วนได้เสียอะไร ก็อย่าไป.. กะเค้า

อย่าให้ความตระหนี่ในตัวเรามันโตจนล้นออกมา เป็นคำพูด ตัวหนังสือ คนอื่นเค้าจะรู้ว่า เราเป็นคนแบบไหน

คนไม่สรรเสริญทาน ที่คนอื่นทำแล้ว พระพุทธเจ้าก็บอกไว้แล้วเป็นคนเช่นไร

เราไม่เชื่อโลกหน้า ไม่เข้าใจเรื่องบุญ แต่เรื่องสิทธิส่วนบุคคลเราก็ให้เกียรติเค้าหน่อยจะเป็นไร เรื่องเราไม่เชื่อมันก็ไม่แน่ว่าจะดีเสมอไป ก็คงต้องหาผู้ตัดสินว่าอะไรถูกผิด เรื่องเหนือโลกอย่างนี้ก็คงมีแต่ผู้ที่ทำการศึกษาทดลองทางจิตมากพอจึงจะตอบได้ ถ้าหาถูกคนก็โชคดีไป สมัยนี้ หลายมหาลัยสอนให้คนที่เรียนเป็นนักข่าวทำตัวเหมือนหมาเฝ้าบ้าน เห่าไปก่อน ไม่ต้องมีเหตุผล ไม่ต้องมีส่วนได้เสีย เห่าไป

มันใช่เหรอ


พ่อแม่เลี้ยงดูส่งเสีย จากประถม ผ่านมัธยมไปสู่มหาลัย เพื่อหวังให้เป็นคนเต็มคน ที่มีทั้งความรู้ความสามารถ

ไปๆมาๆ กลับได้หมามาตัวนึง ที่เห่าไม่รู้เวลา

ถ้าเป็นชาติคนแล้ว ก็ควรจะมีความคิดว่า สิ่งที่จะพูด จะเขียนออกไป ต้องไม่กระทบ ไม่เบียดเบียน เพื่อสร้างโลกนี้ให้น่าอยู่


พูดไปแล้วทำให้คนอื่น และตัวเราเดือดร้อน ก็อย่าไปทำ

 

 เป็นคนเราเลือกที่จะพูดจะทำได้ เพราะคนคิดต่างกัน ไม่ใช่คนผิด แต่การล่วงเกินด้วยคำพูด ด้วยการกระทำนี่แหละผิด

อย่าไปมองหาข้อเสียคนอื่นเพื่อมาพูดเขียน แต่จงมองหาข้อดีเค้ามาเขียน

มองหาข้อเสียของตัวเราเองมาแก้ไข ดีกว่าไปยุ่งเรื่องอะไรของคนอื่นเค้า



วิ.22 กรกฎา 60




13 ความคิดเห็น:

  1. สาธุ บทความเนื้อหาดีมากๆเลยค่ะ

    ตอบลบ
  2. คนดังในโซเชียลก็จะหยิบจับอะไรมาพูดมาเขียนให้แฟนคลับได้อ่านได้ดู จนบางครั้งหรือหลายๆครั้งก็เป็นการแสดงความโหลยโท่ยของตัวเองออกมา.. พูดมากก็มากเรื่อง พูดมากก็พลาดมาก

    ตอบลบ
  3. อยากให้หลายๆ คนได้อ่าน เพราะหลายๆ อย่าง ชาวพุทธ ทำตาม นักสร้างบารมีในสมัยก่อนบางคนไม่ศึกษาก็ใช้แต่ความคิดของตนมาตัดสิน

    ตอบลบ
  4. พฤติกรรมส่อเจตนาคน กรรมจำแนกสัตว์โลก
    กฏแห่งกรรม ไม่เคยลืมผู้กระทำ

    ตอบลบ
  5. คิดดี พูดดี ทำดี สิ่งดีๆก็จะเกิดขึ้นกับตัวเรา คิดไม่ดี พูดไม่ดี ทำไม่ดี ก็จะได้รับแต่สิ่งเลวร้ายอยู่ร่ำไป มาคิดบวกกันเถอะค่ะ เพื่อชีวิตท่ีดีขึ้น

    ตอบลบ
  6. เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ เจตยิตฺวา กมฺมํ กโรติ กาเยน วาจาย มนสาติ
    พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม บุคคลคิดแล้วจึงทำกรรมด้วยกาย วาจา ใจ

    ถ้าเจตนาดี กรรมนั้นก็ย่อมเป็นกรรมดี เกิดประโยชน์แก่ตน
    ถ้าเจตนาชั่ว กรรมนั้นก็ย่อมเป็นกรรมชั่ว เกิดทุกข์แก่ตนและแก่ส่วนรวม
    บางคนแสดงพฤติกรรมทางกายวาจาภายนอกดูเหมือนปรารถนาดีต่อพระพุทธศาสนา แต่ภายในมีเจตนาชั่วร้ายต่อพระภิกษุสงฆ์ ตนเองก็เกิดอกุศลจิตเป็นบาปในจิตใจเป็นโทษแก่ตนที่จะได้ต้องไปอบายหลังตายแล้ว และโทษคือภาพรวมพระพุทธศาสนาเสียหาย ทำลายความเลื่อมใสของผู้เลื่อมใสแล้วเป็นจำนวนมาก ก็ย่อมเกิดโทษแก่ตนอย่างมหันต์ในภายภาคหน้าคือทุกข์ในอบายยาวนานอีก

    แม้ว่า เจตนาดี ก็ต้องทำด้วยความระมัดระวังรอบครอบ(มีสติสัมปชัญญะ) ไม่ประมาท จึงจะก่อประโยชน์ทั้งแก่ตนและส่วนรวม

    ตอบลบ
  7. ไม่ชอบก็ไม่ต้องทำไม่มีใครว่าอะไร แต่อย่าไปยุ่งเรื่องของคนอื่นเพราะมันเป็นสิทธิเสรีภาพของเขา เห็นด้วยทุกประการเลย

    ตอบลบ
  8. สาธุ เห็นด้วยกับบทความเจ้าค่ะ

    ตอบลบ
  9. บท​ความ​ดี​มาก​ครับ​ มี​ตรงพระ​คาถา​ต้อง​เป็น​
    น​ เว​ กทริยา​ เทวโลกํ วชนฺติ​
    เต็ม​ น​ เข้า​มาครับผม

    ตอบลบ
  10. จับถูก จับดีคนอื่น จะเกิดสิ่งดีๆในชีวิต แต่ถ้าจับผิดคนอื่น จะเกิดสิ่งร้ายๆในชีวิตเอย.

    ตอบลบ
  11. เหตุแห่งมิจฉาทิฏฐิ ๒ อย่างคือ
    ๑. ฟังคนอื่นพูด ไม่ว่าสื่อออนไลน์ต่างๆ หรือสื่อด้านอื่นก็ตาม
    ๒. ตนเองไม่ใครครวญด้วยปัญญาสืบสาวหาต้นเหตุก่อน คิดในแง่อกุศล มีมุมมองมิติเดียว
    ทั้งคนสื่อความไม่ดีมีเจตนาชั่ว และคนฟังต่อไม่ได้สืบสาวหาเหตุ ทำแบบนี้เป็นอาจิณณ์ จัดเป็นพวกมุสา เป็นผู้มีกรรมเสมอกัน ละโลกนี้ไปแล้วเป็นผู้เสมอกันในโลกหน้าคือนรก ฉะนี้แลฯ

    ตอบลบ